รวมเพื่อนๆทั่วไทย กับรถคู่ใจ YAMAHA DT.. เดือนมีนาคม67 (จากเฟซบุ๊ค: ชมรมคนรัก dt100/125ยามาฮ่า )

.

ท่าน อ.ศุภนันท์ รอดมีบุญ .. ด้วยคาระวะ คุณครูช่างงานซ่อมรถ DT..อีกท่านหนึ่งในวงการรถมอเตอร์ไซค์

.

.

.

.

.

ขอขอบคุณ จาก Anuchit Suwanarat ผู้รวบรวมเพื่อนๆชาวDT.. ที่มีใจตรงกันครับ

การทำสีรถ

วันนี้มาคุยเรื่องการทำสีดีกว่าไหมครับ……
ปกติการทำสีก่อนที่เราจะพ่นสีหรือทำสีใหม่เราจะต้องทำชิ้นงานให้สะอาดเสียก่อน เมื่อก่อนนี้เรามีวิธีการทำความสะอาดชิ้นงานเดิมหลายวิธีคือ..

  1. ล้างด้วยพวกสบู่ ผงซักฟอก น้ำมันโซล่า น้ำมันเบนซิน หรือสิ่งที่ละลายพวกฝุ่น คราบน้ำมัน สิ่งสกปรกต่างๆที่อยู่บนโครงเครื่องหรือชิ้นส่วน
  2. น้ำยาลอกสีเพื่อเอาสีเก่าออก…..แต่การใช้น้ำยาต้องระวังหน่อยนะครับอย่าให้กระเด็นเข้าตา…ต้องศึกษาวิธีการใช้
  3. การนำไปยิงทราย…วิธีนี้จะทำความสะอาดได้ดีที่สุดแต่เมื่อยิงทรายมาแล้ว ต้องรีบมาทำการพ่นสีรองพื้นและพยายามอย่าจับชิ้นงานด้วยมือเปล่า เพราะชิ้นงานที่ถูกยิงทรายมาแล้ว มันจะเหลือเนื้อโลหะบริสุทธิ์ ถ้าเอามือไป จับอาจมีความชิ้นไปจับชิ้นโลหะทำให้เกิดสนิมได้(ควรรีบทำสีรองพื้นก่อน 24 ชม.)

การทำสีรองพื้น

  1. ใช้สีรองพื้นกันสนิมส่วนใหญ่จะเป็นสีเทาใช้รองพื้นกันสนิม
  2. ใช้รองพื้นกันสนิมและกันร่อนด้วยหมายถึงสีมักจะไม่หลุดออกจากชิ้นงาน มีความเหนียวยึดติดกับชิ้นงานดีสีที่พ่นรองพื้นจะเป็นคล้ายๆสีกากีแกมเขียวครับ…..
ในกรณีเราไม่มีเครื่องพ่นสี ต้องการทำสีโดยใช้สีสเปรย ์ขอแนะนำสีสเปรย์ดังนี้ครับ..
-สีรองพื้นกันสนิม Surfacer grey เบอร์ 130 เป็นสีพ่นรองพื้นกันสนิมสีเทา
-สีดำ เบอร์ 217 เป็นสีดำเงา
-แลคเกอร์ เบอร์ 230 ใช้พ่นทับหลังจากพ่นสีจริงเพื่อเคลือบเงานและช่วยกันรอยขีดข่วน

หมายเหตุ: ผมและทีมงานพยายามคัดลอก เรียบเรียง เนื้อหาจาก www.thaiscooter.com โดยได้รับการอนุญาตจากท่านอาจารย์ศุภนันท์ แล้ว ..ทั้งนี้เป็นความตั้งใจของผมเองอยากจะรักษาบทความดีๆเอาไว้อีกทาง เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ค้นคว้าหาความรู้ หรือนำไปประกอบอาชีพได้เลย ดังนั้นในเว็บไซต์นี้จะพยายามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับงานของ YAMAHA DT.. ให้มากที่สุด

หากพี่ๆน้องๆเพื่อนๆ มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ดีๆเกี่ยวกับงานซ่อม YAMAHA DT.. สามารถติดต่อผมเพื่อมาร่วมทีมงาน ลงบทความในเว็บไซต์นี้ได้ ด้วยความยินดีนะครับ ติดต่อแชทคุยกับผมได้ที่ FB: Anuchit Suwanarat นะครับ

ท้ายนี้ขอขอบคุณและให้กำลังใจ เว็บไซต์ดีๆเพื่อยวดยานด้วยนะครับ: https://www.thaiscooter.com คลิกครับ

จานไฟที่ใช้กับแบบหน้าทองขาวกับแบบใช้cdi…..ไม่เหมือนกัน

ความแตกต่างระหว่างจานไฟที่ใช้กับแบบหน้าทองขาวกับแบบใช้cdi…..ไม่เหมือนกันนะครับ
จานไฟที่ใช้กับแบบหน้าทองขาวแกนปลอกด้านในจะมีส่วนที่เป็นปลอกเหมือนลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์อยู่ เพื่อทำหน้าที่ไปดันขาก้านแตะหน้าทองขาว


ส่วนแบบ cdi จะไม่มีปลอกลูกเบี้ยวเยื้องศูนย์

https://s.shopee.co.th/8UvJY4t6Yj

วิธีวัดขนาดเท้าเพื่อเช็กเบอร์ของรองเท้าวิบาก

ตามตัวอย่าง สมมุติวัดได้ 25.2 ควรเลือกเบอร์โตขึ้นนิดหน่อย จะไม่รัดเท้าแน่นเกินไป ดังนั้นควรเลือกเบอร์ 42

ขอขอบคุณhttps://www.lazada.co.th/products/tiger-i283590003-s516920591.html?spm=a2o4m.tm80167383.2074280300.1.685fCVFnCVFnHQ.685fCVFnCVFnHQ

ถอดล้างคาร์บูเรเตอร์

1. ถอดฝาปิดคาร์บูเรเตอร์ที่ยึดกับลูกเร่งพร้อมสายออกจากคาร์บูเรเตอร์…ถอดสายรัดยางกรองอากาศและสายรัดยาง ปากคาร์บูเรเตอร์ออก….แล้วดึงคาร์บูเรเตอร์ออกมา
2. ถอดน้อตยึดก้นอ่างออก………จะเห็นความสวยงามเอ้ย. .ความสกปรกที่ปรากฏในอ่างคาร์บูเรเตอร์

ถอดฝาก้นอ่างออก ฝานี้ไว้สำหรับถ่ายล้างสิ่งสกปรกออก แสดงว่าคาร์บูเรเตอร์อันนี้ไม่เคยดูแลถ่ายล้างเลย
ถอดชุดลูกลอยออก โดยดึงสลักบังคับลูกลอยและเข็มออก
เอาเข็มปิดเปิดน้ำมันออกมาจากเบ้า….จะสังเกตุว่าปลายเข็มมันจะคอดแล้ว ปกติมันต้องไม่คอด…ตรงนี้แหละหัวใจสำคัญ ถ้ามันคอดหรือสึกมันจะปิดน้ำมันไม่อยู่ เราจะ ต้องเปลี่ยนเข็มลูกลอยและเบ้าใหม่ ในกรณีที่มันสึกเหมือนในรูป ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนทั้งเข็มและเบ้า
ถอดตัวท่อส่งน้ำมัน(Main Jet)ออก น้ำมันจะถูกดูดจากรูตรงปลายท่อซึ่งปกติจะแหย่ไปเกือบถึงก้นอ่าง….ถ้าก้นอ่างสกปรกมันก็จะดูดขึ้นไปด้วยแล้วทำให้รูที่จะทำฝอยน้ำมันอุดตันและน้ำมันจะไม่เป็นฝอย จะเป็นหยดน้ำมันทำให้เกิดการเผาไหม้ไม่ดี…….. ..การที่น้ำมันดูดขึ้นจากตรงรูขึ้นไปได้เพราะว่าความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านในจังหวะลูกสูบดูดจะเกิดสูญญากาศ ทำให้มันสามารถดูดน้ำมันขึ้นไปได้
ถอดเบ้าเข็มลูกลอยน้ำมัน……..ตัวนี้ถ้าเข็มสึกมาก ควรจะเปลี่ยนเบ้านี้ด้วย
ใช้ไขควงปากแบนตัวเล็กถอดเข็มปรับอากาศเดินเบาออก… …ถ้ารูมันตันจะทำให้ปรับเดินเบาไม่ได้เครื่องไม่นิ่ง
ถอดตัวปรับตั้งเดินเบาออก….ใช้สำหรับปรับรอบเครื่อง..ถ้าหมุนเข้าไปแกนมันก็จะยกลูกเร่งให้สูงขึ้นเครื่องจะเร่งขึ้น
ถอดตัวดึงโช้คออก….ใช้สำหรับโช้คน้ำมัน
หาน้ำมันเบนซินมาล้างอุปกรณ์ต่างๆ
หาสายสลิงที่เป็นสายเบรคหรือสายคลัชมาแยกออกเป็นเส้นเล็กๆตามขนาดของรูที่เราจะทำความสะอาด โดยเฉพาะรูของนมหนูเดินเบามันจะเล็กมาก ถ้าใช้อย่างอื่นมันจะใหญ่หรือไม่แข็งแรง
เมื่อล้างทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ถ้ามีปั๊มลม ก็ใช้ลมเป่าอีกครั้งหนึ่ง แล้วประกอบชิ้นส่วนเข้าอย่างเดิม. …ก่อนปิดฝาก้นอ่างลองสังเกตุดูว่าลูกลอยขึ้นลงสะดวกไหม..เข็มดันขึ้นลงคล่องตัวไหม….ลองยกลูกลอยให้อยู่ในตำแหน่งดันเข็มน้ำมันปิดแล้วลองเป่าลมเข้าทางช่องน้ำมันเข้า ดูว่าเข็มลูกลอยสามารถกั้นลมไม่ให้เป่าได หรือไม่ แล้วลองปล่อยลูกลอยอยู่ในตำแหน่งลงลองเป่าดู ลมผ่านได้หรือไม่….ทดลองยกลูกลอยขึ้นลงสลับกันพร้อมเป่าลมเข้าทางที่ต่อสายน้ำมันเข้า เราก็จะรู้ว่าเข็มปิดดีหรือไม่……ทดลองจนแน่ใจถึงประกอบฝาก้นอ่างแล้วจึงประกอบไว้อย่างเดิม.

ขอบคุณhttps://www.thaiscooter.com/forums/showthread.php?t=368398&page=99

รวมเรื่องน่ารู้ : สเตอร์หน้า กับสเตอร์หลัง และโซ่ของ DT100,125

ผมเคยเจอเกิดจากสาเหตุที่ใช้สเตอร์หน้า กับสเตอร์หลังมีความแตกต่างกันมาก
ปกติที่เห็นใช้กันอยู่จะเป็น..
หน้า 14 หลัง 47 ผลก็คือไม่เน้นความเร็วแรงบิดเหลือเฟือแต่รถทำความเร็วได้น้อย….
ต่อมา หน้า 15 หลัง 47 เอาตัวเลขมาหารกันจะได้อัตราทดอยู่ที่ 3.13 : 1 แรงบิดตอนออกตัวก็ยังแรงอยู่แต่สามารถวิ่งได้เร็วปลายเพิ่มขึ้น……..
ต่อมา หน้า 16 หลัง 47 เวลาออกตัวถ้าคาบูเรเตอร์ไม่ดีจริงเครื่องไม่ฟิตหรือสมบูรณ์จริงๆเวลาออกตัวเครื่องจะมีอาการคล้ายบอดเพราะว่ามันทดเยอะไป เครื่องลากไม่ไหว พอเราบับคลัชเสียงเครื่องดีขึ้นเพราะมันไม่ได้ไปฉุดล้อพอปล่อยคลัชเครื่องมันไปดึงล้อหลังฉุดไม่ไหว……..

ดังนั้นปัญหาของคุณลองดูว่าตอนนี้สเตอร์หน้าใช้กี่ฟันหลังกี่ฟัน … ผมว่าให้อัตราทดอยู่ที่ประมาณ 3.13 : 1 กำลังดีครับ ผมลองคิดให้อย่างนี้นะครับ
หน้า 13 หลัง 40 หรือ 41
หน้า 14 หลัง 44
หน้า 15 หลัง 47
ลองดูรถของคุณนะครับว่าใกล้เคียงกับที่ผมไหม

สรุป สเตอร์หน้า 15 หลัง 47 ต้นก็ดี ปลายก็ไม่ขี้เหร่ครับ

ขอขอบคุณ..-ได้รับการอนุญาตนำมาเผยแพร่แล้ว จากท่าน อ.ศุภนันท์ รอดมีบุญ (ผู้เขียนบทความ)

△ขนาดโซ่มาตรฐาน ใช้เบอร์ 428 จำนวน 120 ข้อ

ระวัง!คันสตาร์ทdt100 ใส่ของ dt125 จะทำให้ฝาข้างด้านขวาตรงจุดที่แกนสตาร์ทแตกร้าว

วันนี้แนะนำการเลือกใช้คันสตาร์ทกับ dt100 นะครับเนื่องจากได้รื้อเครื่อง dt125 แบบโช้คคู่มา 3 เครื่องเจอปัญหาแบบเดียวกันหมดคือฝาข้างด้านขวาตรงจุดที่แกนสตาร์ทมีรอยแตกร้าว เจอแต่รอยอุดกาวซิเมนต์ก็เลยหาสาเหตุว่ามันเกิดจากอะไร?

…….ลองดูเครื่องที่ผมประกอบนะครับเอาคันสตาร์ทที่ติดมาจะเห็นว่าคันสตาร์ทรุ่นนี้มันใช้กับรุ่น dt125 mono แล้วเอามาใช้นะครับก้านมันจะยาว

เอามือกดลงสุดจะเห็นว่าหัวน็อตกระแทกกับฝา ถึงเอาน็อตออกเหลือตัวเดียวก็กระแทกครับ ยิ่งถ้าใช้เท้าถีบยิ่งก ระแทกจังๆครับ นี่ขนาดมีที่พักเท้าช่วยกันไว้นะครับ

นี่เป็นคันสตาร์ทอีกแบบครับยิ่งหนักกว่าเดิมอีก กดไปแค่ครึ่งเดียวก็โดนแล้ว

ดูคันสตาร์ทของ dt100 นะครับกดสุดยังไงก็ไม่โดนฝาครอบครับ(แต่อย่าใช้น็อตยาวเกินนะครับ….)

วันนี้ผมไปซื้อคันสตาร์ทของ dt100 ที่ราชบุรีมา 2 อันครับได้มาราคาอันละ 95 บาทร้านตรงติดกับโลตัสนะครับวันหลังคงต้องไปหามาเก็บตุนไว้อีกเพราะมีอีกหลายคันที่ต้องใช้..
ของคุณระวังนะครับตรวจเช็คให้ดีอย่าเป็นแบบที่ผมลงไว้นะครับเป็นห่วง…..ที่สำคัญที่วางเท้าหน้ามันเป็นตัวช่วยกันไม่ให้คันสตาร์ทเกินตำแหน่งที่เราเหยียบได้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากปัญหาเปลี่ยนตำแหน่งที่พักเท้าด้านขวาด้วย….ฉนั้นถ้าเปลี่ยนตำแหน่งที่เหยียบพักเท้าด้านขวาให้คำนึงถึงคันสตาร์ทด้วยว่ามันจะช่วยกันคันสตาร์ทได้หรือไม่….