


ขอขอบคุณ All EV Service




ขอขอบคุณ All EV Service
ขอขอบคุณ All EV Service
ขอขอบคุณ All EV Service
นึกถึงสมัยเรียนที่เชียงใหม่.. ขี่รถวิบาก TS125n ไปเที่ยวกับเพื่อนๆชาวมอไซค์ป่าตัน เสาร์-อาทิตย์จะแอ่วบ่อยๆ.. แวะสวนดอกไม้ข้างทางที่ อ.แม่แตงหน้าหนาวสวยงามมาก.. กินข้าวโพดหวานร้อนๆก่อนถึงเขื่อนแม่งัด กับเพื่อนๆที่เรารู้ใจและชอบสิ่งเดียวกัน.. ก็สุขเกินพอแล้วครับ ❤ #วันดีๆแบบวันนั้นไม่มีอีกแล้ว
.. ปื้น ปากพนัง
Riding a Vintage Yamaha dt100 motorcycle, taking you to Mae Rim, Mae Taeng, Chiang Dao
อันดับที่ 1 BYD Atto 3
BYD ส่ง Atto3 สองรุ่นลงสู่ตลาดรถยนต์พลังงานสะอาดของไทย หลังจากนั้น กระแสตอบรับก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ยอดขายของ BYD Atto 3 อยู่ในอันดับที่ 1 รถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีสุดในไทย 6 เดือนแรกจากมกราคม จนถึงมิถุนายน มียอดขายรวม 11,167 คัน
BYD Atto 3 Extended Range วิ่งไกล 510 กิโลเมตร ราคา 1,199,900 บาท
BYD Atto 3 Standard Range วิ่งไกล 410 กิโลเมตร ราคา 1,099,900 บาท
อันดับที่ 2 Neta V
มาดีด้วยราคาและกลายเป็นขวัญใจของคนต่างจังหวัด Neta V ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า กำลัง 95 แรงม้า แรงบิด 150 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ CTL CATL Ternary Lithium ความจุ 38.5 kWh มอเตอร์วางด้านหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า ชาร์จเต็มวิ่งไกล320 กิโลเมตร หักกลบลบหนี้ วิ่งใช้งานจริงประมาณ 290 กิโลเมตร ในเมืองขับทั้งวันแบตยังเหลืออีกเพียบ เหมาะกับคนที่มีงบไม่มากและอยากลองใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยที่ยังไม่ได้ขายรถยนต์สันดาปที่ใช้งานเป็นประจำเอาไว้ออกทางไกล ส่วนความเร็วสูงสุด จากทรงของรถไม่ได้เน้นให้วิ่งเร็วมากนัก ทำได้แค่ 121 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 6 เดือนแรกของปี 2566 Neta V ทำยอดขาย 5,955 คัน อยู่ในอันดับที่สอง ตามหลัง BYD Atto 3 อยู่ไกลลิบ
Neta V ราคา 549,000 บาท
อันดับที่ 3 Tesla Model Y
Tesla Model Y Rear-Wheel Drive 1,959,000 บาท
มอเตอร์ไฟฟ้าตัวเดียวขับเคลื่อนล้อหลัง มอเตอร์ขับเคลื่อนให้กำลังสูงสุด 347 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ความจุ 57.5 kWh ชาร์จเต็มวิ่งไกล 455 กิโลเมตร อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใน 6.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 217 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หัวชาร์จ Type 2 AC 11 kW / CCS Combo DC Fast Charging 170 kW
Tesla Model Y Long Range 2,259,000 บาท
มอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว ที่เพลาหน้าและเพลาหลัง ขับเคลื่อนสี่ล้อ มอเตอร์ขับเคลื่อนสองตัวให้กำลังสูงสุด 514 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 493 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ความจุ 75.0 kWh ชาร์จเต็มวิ่งไกล 530 กิโลเมตร อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใน 5.0 วินาที ความเร็วสูงสุด 217 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หัวชาร์จ Type 2 AC 11 kW / CCS Combo DC Fast Charging 250 kW
Tesla Model Y Performance 2,509,000 บาท
รุ่นสูงสุด ของ Model Y ที่จำหน่ายในประเทศ (นำเข้าจากจีน) ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตำแหน่ง ที่เพลาหน้าและเพลาหลัง ขับเคลื่อนสี่ล้อ มอเตอร์ขับเคลื่อนสองตัวให้กำลังสูงสุด 534 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 660 นิวตันเมตร ขับเคลื่อน 4 ล้อ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ความจุ 75.0 kWh ชาร์จเต็มวิ่งไกล 514 กิโลเมตร อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใน 3.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หัวชาร์จ Type 2 AC 11 kW / CCS Combo DC Fast Charging 250 kW
Model Y ทำตัวเลขยอดขาย 6 เดือนแรกในปี 2566 ที่ 3,638 คัน
อัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use ) คือ อัตราค่าไฟฟ้าที่คิดตามช่วงเวลาของการใช้ แบ่งเป็นช่วงที่คนต้องการใช้ไฟเยอะ กับ ช่วงที่คนต้องการใช้ไฟน้อยเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับมิเตอร์ค่าไฟแบบธรรมดาแล้ว ควรต้องใช้ไฟ 400 หน่วยขึ้นไป โดยอัตราส่วนการใช้ไฟ คือ Off : On Peak ที่ 80:20 ถึงจะประหยัดกว่า
อัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use) คือ อัตราค่าไฟฟ้าที่คิดตามช่วงเวลาของการใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
1. ช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง (On Peak) อัตราค่าไฟฟ้า 5.7982 บาท
2. ช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ (Off Peak) อัตราค่าไฟฟ้า 2.6369 บาท ต่อหน่วย
(สำหรับแรงดันไฟต่ำกว่า 22 กิโลโวลท์)
ซึ่งอัตราค่าไฟราคานี้ ยังไม่รวม ค่า ft, VAT และค่าบริการต่างๆ
โดยภาพรวมจากตารางแล้ว มิเตอร์นี้ เหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟเยอะมาก ๆ ตั้งแต่ 400 หน่วยขึ้นไป แต่ต้องมีสัดส่วนใช้ไฟตอน Off-Peak (ช่วงกลางคืนและวันหยุด) มากกว่าช่วง On-Peak ถึงจะคุ้มค่าแก่การเปลี่ยน ซึ่งยิ่งใช้ไฟกลางคืนเยอะเท่าไหร่ ก็จะยิ่งคุ้มเร็วขึ้นเท่านั้น
และถ้าจะใช้งาน On-Peak ในอัตราส่วนที่สูงกว่านี้ก็จะต้องใช้ไฟ Off-Peak เยอะขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน เพื่อให้ยอดยังคงอัตราส่วนเดิม ซึ่งจะทำให้ TOU ถูกกว่าแบบปกติ
ฉะนั้น ถ้าเราจะเปลี่ยน TOU จริง ๆ ก็คือ จะต้องเป็นบ้านที่ใช้ไฟเยอะมาก ๆ หรือ ใช้ตอน Off-Paek ซึ่งก็คือหลังสี่ทุ่ม ถึงเก้าโมงเช้าเยอะมาก ๆ ถึงจะคุ้มค่า (หรือก็คือพนักงานออฟฟิศ ที่วันธรรมดาตอนกลางวันออกไปทำงาน และตอนกลางคืนกลับมาใช้ไฟบ้านนั้นเอง) ซึ่งราคาเหล่านี้มาจากเว็บไซต์ของ กฟน.
สามารถยื่นเรื่องได้ที่แผนกบริการ การไฟฟ้านครหลวงเขต ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายด้านเครื่องวัดฯ TOU ตามระดับแรงดันที่เชื่อมต่อกับระบบของ กฟน. โดยจะมีค่าเปลี่ยนมิเตอร์ 700 บาท และ ค่ามิเตอร์ TOU 6,000 บาท ซึ่งรายการเหล่านี้ ยังไม่รวมค่าสายไฟเข้าบ้าน และค่าติดตั้งสายดิน.
ขอขอบคุณhttps://www.moneybuffalo.in.th/saving-tips/tou
https://www.google.com/s..Aw&biw=1252&bih=582&..
The high oil crisis is an opportunity!! A career in converting gasoline cars to electric with good income.
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีชาลเมอร์ส (Chalmers University of Technology) ประเทศสวีเดน คิดเทคนิคเพื่อรีไซเคิลโลหะมีค่าจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยวิธีการโลหวิทยาการละลาย (Hydrometallurgy) เทคนิคใหม่นี้ช่วยให้สามารถนำอะลูมิเนียมจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ากลับมาใช้ใหม่ได้ 100% และลิเทียม 98% ในขณะเดียวกันก็ลดการสูญเสียนิกเกิล โคบอลต์ และแมงกานีสด้วย..
ทั้งนี้กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีราคาแพงหรือเป็นอันตราย เพราะนักวิจัยใช้กรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่พบได้ในพืช เช่น ผักโขม จากนั้นนักวิจัยได้ปรับแต่งกระบวนรีไซเคิลทั้งการปรับอุณหภูมิ ความเข้มข้นของกรด และระยะเวลาระหว่างกระบวนการ
..โลหะทั้งหมดในเซลล์แบตเตอรี่ไฟฟ้าจะถูกละลายในกรดอนินทรีย์ อะลูมิเนียมหรือทองแดงจะถูกละลายทิ้งไปเลย แล้วแยกเอาโลหะอย่างโคบอลต์ นิกเกิล แมงกานีส และลิเทียมออกมา อย่างไรก็ตาม โลหะดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์อีกหลายขั้นตอน เนื่องจากยังหลงเหลือเศษของอะลูมิเนียมและทองแดงอยู่ ซึ่งส่งผลทำให้ปริมาณของลิเทียมลดลง..
แต่ด้วยวิธีการใหม่นี้ จะเรียงลำดับการดำเนินการใหม่ โดยนักวิจัยจะละลายลิเทียมและอะลูมิเนียมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ก่อน ขั้นตอนก็คือนักวิจัยจะนำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามาบดเป็นผงสีดำแล้วใส่ไว้ในตู้ดูดควัน จากนั้นนำผงสีดำนี้ไปแช่ในกรดออกซาลิก อะลูมิเนียมและลิเทียมจะละลายในกรดออกซาลิก ในขณะที่โลหะอื่น ๆ จะเหลือเป็นของแข็ง ซึ่งหนึ่งในทีมวิจัยก็บอกว่า โลหะแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอยู่แล้ว จึงคิดว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะแยกมันออกจากกันได้
สำหรับลิเทียม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาทำแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพื่อใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งมีบทบาทอย่างมากในโลกปัจจุบัน ดังนั้นหากสามารถรีไซเคิลลิเทียมกลับมาใช้ใหม่ได้ มันก็จะมีประโยชน์ทั้งในเรื่องลดต้นทุน และส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรอีกด้วย.
ขอขอบคุณ www.pohchae.com/2023/10/26/recycle-lithium-batteries/
9 เดือนแรก ของปี 2023 ยอดจดทะเบียนรถไฟฟ้า100% คิดเป็น 10.05% ของยอดจดทะเบียนรถยนต์ รย.1 ทั่วประเทศ 500,942 คัน
เดือน กันยายน 66 : BYD Dolphin ครองแชมป์ อันดับ 1 ครั้งแรก
..ตามด้วย BYD Atto 3 / NETA V ยอดรวมทุกรุ่น 6,875 คัน คิดเป็น 14.6% ของยอดจดทะเบียนรถ รย.1 ทั่วประเทศ
ยอดจดทะเบียนรถยนต์สะสม กลุ่ม รถไฟฟ้า100% (BEV : Battery Electric Vehicle) เดือน กันยายน 2566 รวม 6,875 คัน (คิดเป็น 14.6% ของยอดจดทะเบียนรถยนต์ในไทย รย.1 รวม 47,194 คัน)
Top 14 อันดับ ยอดจดทะเบียนสูงสุด เดือน กันยายน 2023
– อันดับ 1 BYD Dolphin 1,621 คัน
– อันดับ 2 BYD Atto 3 1,610 คัน
– อันดับ 3 NETA V 854 คัน
– อันดับ 4 ORA Good Cat 650 คัน
– อันดับ 5 MG EP 513 คัน
– อันดับ 6 MG 4 Electric 380 คัน
– อันดับ 7 Tesla Model Y 250 คัน
– อันดับ 8 MG Maxus 9 137 คัน
– อันดับ 9 Tesla Model 3 125 คัน
– อันดับ 10 MG ES 115 คัน
– อันดับ 11 Volvo XC40 EV 100 คัน
– อันดับ 12 MG ZS EV 96 คัน
– อันดับ 13 BMW iX3 88 คัน
– อันดับ 14 Volvo C40 71 คัน
ที่มา https://www.pohchae.com/2023/10/23/ev-thai-3