อาการติดยาก/วิธีเปลี่ยนซีลด้านซ้าย+ขวา DT100

ขอขอบคุณ..-ได้รับการอนุญาตนำมาเผยแพร่แล้ว จากท่าน อ.ศุภนันท์ รอดมีบุญ (ผู้เขียนบทความ)

“ขอบคุณครับจะลองทำดูครับ แต่”ถ้าเปลี่ยน ซีล นี่คงต้องผ่ากลางใช่มั้ยครับ”

ไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าคับ
เปิดฝาครอบจานไฟ(ล้อแม่เหล็ก)แล้ว ถอดจานไฟกับแผงขดลวดออก ใช้ไขควงตัวเล็กงัดออก ตอกออก หรือตะปูก็ได้คับพอถอดออกมาแล้วก็เอาซีลตัวใหม่ใส่เข้าไปแทน ทาน้ำมัน ก่อนใส่ด้วย

วิธีใส่ซีลถ้าเอามือกดเข้าไปได้ก็ใช้มือกด แต่ถ้าไม่ได้เอาซีลตัวเก่าลองแล้วเอาค้อนเคาะเข้าไป เป็นอันเสร็จ

————

…ต้องเปลี่ยนทั้ง 2 ข้างนะครับทำทีละข้างด้านซ้ายข้างจานไฟ เสร็จแล้วมาเปลี่ยนซีลข้างขวาถอดฝาครอบด้านขวาออก ต้องถอดชุดคลัชออกมันยากตรงถอดน้อตที่ปิดเฟืองขับจานคลัชมันจะแน่น ปกติเขาใช้บล็อกลมยิงอีกวิธีใช้ประแจบล็อกหรือประแจแหวนแต่ต้องขัดชามคลัชไม่ให้หมุนตาม

ต้องระวังนะครับไม่อย่างนั้นชามคลัชจะหัก…ต้องใช้ไขควงตอก. ..เมื่อเปลี่ยนซีลหมดแล้วให้ถอดท่อไอเสียออกแล้วเลื่ อนลูกสูบให้เลื่อนขึ้นใช้ลมเป่าเข้าไปในห้องแคร้งเพื่อไล่น้ำมันที่หลงเหลือ ปกติในห้องนี้ไม่มีน้ำมันเครื่องนะครับจะมีแต่ไอของไอดี(น้ำมัน+อากาศ+2T)เท่านั้น ……การเปลี่ยนเฉพาะซีลด้านซ้ายไม่ได้แก้ปัญหาน้ำม ันเครื่องเข้าห้องแคร้งนะครับปัญหาอยู่ที่ซีลด้านขวา เป็นเหตุใหญ่……..

e29bti..อ. ครับ มีอยู่อย่างหนึ่งที่ผมทราบมาด้านแกนเพลาข้อเหวี่ยงทางขวาของเครื่องจะมีโอลิงตัวเล็กๆ
ซึ่งบางครั้งหายากมาก (ก่อนใส่ปลอกเหล็ก) หากเสียหรือเสื่อมสภาพแล้วน้ำมันก็ไหลเข้าเครื่องได้ เช่นกันและทำให้เครื่องไม่มีกำลังอัดถูกต้องไหมครับ

ถูกต้องครับที่แกนเพลาข้อเหวี่ยงด้านขวาจะมีโอริงเล็กๆตัวหนึ่งสวมอยู่บนเพลา ซึ่งโอริงนี้จะกันไม่ให้น้ำมันเครื่องไหลเข้าไปในห้องข้อเหวี่ยงได้…ถ้าเสื่อมสภาพก็จะเกิดปัญหาอย่างที่ท่านว่า…ในรูปก็คือเพลาข้อเหวี่ยงด้านขวา ปลายเพลาจะเป็นเฟืองตัวเล็กที่ไปขับชามคลัช..ใต้เฟืองตัวนี้จะมีปลอกเหล็กสวมกับเพลาข้อเหวี่ยง ตัวที่กันไม่ให้น้ำมันเข้าในห้องข้อเหวี่ยงก็มีซีลข้อด้านขวาที่สวมอยู่ด้านนอกปลอกเหล็กกับฝาส่วนด้านใน ปลอกจะมีโอริงกันด้านในซึ่งมันหมุนไปกับเพลาข้อเหวี่ยง(ลงภาพให้สมาชิกท่านอื่นเพื่อเป็นความรู้นะครับ)

ขอบคุณ https://www.thaiscooter.com/forums/showthread.php?t=368398&page=158
ยูทูปช่างpui
https://www.thaimotocar.com/2023/03/05/spring-presses-clutch-plate/

Suzuki TS125ER … วิหคสายฟ้า

เป็นอีกหนึ่งตัวลุย บังโคลนหน้าลอยรุ่นยอดนิยมในยุค 80’s สำหรับ Suzuki TS125ER ที่ต้นสังกัดภูมิใจว่าพัฒนามาจากต้นแบบตัวแข่งรหัส RM ที่สร้างผลงานในสนามแข่งด้วยการคว้าแชมป์โมโตครอสโลกถึง 6 ปีซ้อน (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 – 1980)

Suzuki TS125ER ใช้ระบบ CDI ที่พัฒนาใหม่ช่วยให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่าย เดินเรียบ เพิ่มอัตราเร่ง แถมประหยัดน้ำมัน ที่สำคัญยังถือได้ว่าเป็นรถวิบากรุ่นแรกในยุคที่ติดตั้งระบบเกียร์ 6 สปีดมาด้วย ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งในทางวิบาก และบนถนนทางเรียบ

ขอขอบคุณ นิตยสารมอเตอร์ไซค์ MotorcycleMagazine
https://www.weekendhobby.com/motorcycle/webboard/shtml/727
https://thai.webike.net/mt/suzuki-ts125-554/tab/service

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบกลับหัว-ไม่กลับหัว มีข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง? มาดูกัน

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบไม่กลับหัว
โช๊คอัพประเภทนี้คือ โช๊คอัพแบบธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป หรือเรียกว่า โช๊คอัพ Telescopic เป็นโช๊คอัพที่มักใช้กับมอเตอร์ไซค์ทั่วไป ไม่ใช่มอเตอร์ไซค์ประเภทบิ๊กไบก์..

ลักษณะเด่นของโช๊คอัพแบบไม่กลับหัวนี้คือ กระบอกโช๊คอัพที่บรรจุน้ำมันไฮดรอลิกจะอยู่ตรงส่วนล่าง เชื่อมต่อกับแกนที่เป็นแบบอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ขณะที่ตัวกระบอกโช๊คอัพเคลื่อนขึ้นลง ตัวรถจะยุบตัวลงมาเข้าหาช่วงล่าง
เมื่อคุณขี่มอเตอร์ไซค์แล้วเจอกับแรงสะเทือนบนถนน ซึ่งโช๊คอัพแบบนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้..

ข้อดีของโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์แบบไม่กลับหัว
-ราคาถูก
-ดูแลรักษาง่าย
-โอกาสที่แกนจะเกิดรอยขีดข่วนหรือเสียหายได้ยากกว่าเนื่องจากตัวแกนอยู่สูง

ข้อเสียของโช๊คอัพมอเตอร์ไซค์แบบไม่กลับหัว
-น้ำหนักบรรทุกจะถูกส่งไปยังสปริงค่อนข้างมาก ทำให้ควบคุมรถยากกว่า ไม่นุ่มนวลนัก

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบกลับหัว

โช๊คอัพมอเตอร์ไซค์แบบกลัวหัว หรือโช๊คอัพ Upside Down มักพบเห็นในรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า บิ๊กไบก์ เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบ้างที่ถูกนำมาใช้ในรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กทั่วไปเพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวรถ โดยโช๊คอัพประเภทนี้จะเหมาะกับรถที่ใช้ในพื้นที่ที่มีความขรุขระ พื้นผิวถนนไม่เรียบเสียเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึงรถมอเตอร์ไซค์ที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูงด้วยเช่นกัน..

จุดเด่นของโช๊คอัพแบบกลับหัว คือ ลักษณะการทำงานที่แตกต่างตรงกันข้ามจากโช๊คอัพธรรมดา ตรงที่กระบอกโช๊คอัพที่บรรจุน้ำมันไฮดรอลิกจะถูกจัดวางเอาไว้ด้านบน ส่วนด้านล่างจะเป็นแกนที่ยึดล้อกับตัวรถเข้าด้วยกัน ตัวแกนยึดล้ออยู่ด้านล่างจะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ขึ้นลง เมื่อคุณขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ไม่ใช่ตัวกระบอกโช๊คอัพ การที่ส่วนล่างเคลื่อนไหวนี้เองทำให้รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ดีกว่าการใช้โช๊คอัพแบบธรรมดา

การที่ตัวแกนยึดล้อส่วนล่างเคลื่อนไหวนี้เอง
ทำให้รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ดีกว่าการใช้โช๊คอัพแบบธรรมดา

ข้อดีของโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์แบบกลับหัว
-ตัวรถนิ่งกว่า เพราะส่วนล่างของรถมอเตอร์ไซค์เป็นตัวเคลื่อนไหว จึงนุ่มนวลกว่า
-บังคับรถมอเตอร์ไซค์ได้ง่ายกว่า เพราะน้ำหนักที่กดลงไปยังสปริงเหลือน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ ส่วนน้ำหนักที่เยอะ ๆ จะอยู่กับตัวรถแทน

ข้อเสียของโช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์แบบกลับหัว
-ราคาแพง
-ดูแลรักษายาก เพราะตัวแกนที่อยู่ด้านล่างมีโอกาสได้รับความเสียหาย ขีดข่วน หรือพังง่ายกว่า

โช๊คอัพรถมอเตอร์ไซค์ แบบไหน เหมาะกับคุณ?
โช๊คอัพทั้ง 2 นี้มีจุดเด่นที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหากว่าคุณใช้งานรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบก์ ลุยพื้นที่โหด ๆ ไม่ราบเรียบ หรือขับขี่ด้วยความเร็วสูงมาก ๆ ก็ควรเลือกใช้โช๊คอัพแบบกลับหัว แต่ทั้งนี้หากคุณต้องการใช้โช๊คอัพแบบกลับหัว คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า..
-รถมอเตอร์ไซค์ของคุณรองรับกับโช๊คอัพประเภทนี้หรือไม่
-โช๊คอัพสามารถติดตั้งได้พอดีกับโครงสร้างรถมอเตอร์ไซค์หรือไม่
-ต้องทำใจเรื่องค่าใช้จ่ายและการบำรุงรักษาด้วยเช่นกัน.

ที่มา https://www.pohchae.com/2024/01/04/motorcycle-shock-absorber/

5 แอปฯ ของสถานีชาร์จรถEV ที่คนใช้รถพลังงานไฟฟ้าในไทย ควรมีในมือถือ

5 แอปฯ สถานีชาร์จรถEV ที่คนใช้รถพลังงานไฟฟ้าในไทย ควรมีติดตั้งไว้


1. EA Anywhere EA Anywhere เป็นแอปฯ ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) โดยสถานี EA Anywhere นั้นจะตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเป็นหลัก ปัจจุบันมีสถานีชาร์จเปิดให้บริการมากกว่า 500จุด EA Anywhere เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่ใช้งานง่าย สามารถค้นหาสถานีชาร์จได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังมีระบบนำทางที่ดี สามารถนำทางผู้ใช้งานไปยังสถานีชาร์จที่ต้องการได้
2. EV Station PluZ EV Station PluZ เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจากเครือ ปตท. ที่ครอบคลุมทั้งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปัจจุบัน EV Station PluZ มีสถานีชาร์จเปิดให้บริการแล้วกว่า 400 แห่ง มีเครื่องชาร์จทั้งแบบ Normal Charge และแบบ Quick Charge ตัวแอปฯ มีจุดเด่นตรงที่สามารถเช็กสถานะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังสามารถเช็กความพร้อมของสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่เรากำลังจะไปได้อีกด้วย
3. PEA VOLTA PEA VOLTA เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจาก กฟภ. หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมรองรับรถยนต์ไฟฟ้า EV ด้วยหัวจ่ายกระแสไฟตามมาตรฐาน ตัวแอปฯ มีจุดเด่นคือช่วยผู้ใช้งานค้นหาสถานีชาร์จ จองหัวชาร์จ และชำระเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ในปัจจุบันตัวแอปฯ PEA VOLTA มีสถานีชาร์จให้บริการทั้งสิ้น 118 สถานี ใครที่สนใจอยากลองใช้งานก็ไปดาวน์โหลดกันได้ ทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

4. MEA EV MEA EV เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง ในปัจจุบันตัวแอปฯ มีสถานีชาร์จให้บริการทั้งสิ้น 34 สถานี (138 หัวจ่าย) ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ MEA EV สามารถใช้ค้นหา จอง และชาร์จไฟให้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกชนิด จุดเด่นของแอปฯ นี้คือการช่วยคำนวณเส้นทางพร้อมระบุจุดแวะพัก ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากหากคุณเป็นคนที่ใช้รถ EV

5. EVolt EVolt เป็นแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่มีสถานีชาร์จมากกว่า 500 จุด ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ซึ่งมีฟีเจอร์ที่สำคัญคือสามารถเช็กข้อมูลได้ ว่าสถานีไหนมีคิวว่างพร้อมชาร์จ อีกทั้งยังสามารถสั่งเริ่มและหยุดการชาร์จได้ผ่านแอปฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คลิปรีวิว สถานีชาร์จรถไฟฟ้าEVในไทยทั้ง 9 แบรนด์ การใช้งาน-ข้อแตกต่าง-ใครคุ้มสุด?

Wrap รถคืออะไร? ผิดกฎหมายไหม?

Wrapรถคืออะไร? ผิดกฎหมายไหม?

การ Wrap Car คืออะไร?

Wrap Car คือการนำฟิล์ม PVC (Polyvinylchloride) มาห่อหุ้มตัวรถ โดยตัวฟิล์มจะมีความยืดหยุ่นน้อย ต้องใช้ความร้อนเพื่อให้ยืดตัว การ Wrap Car มีคุณสมบัติที่จะช่วยป้องกันรถจากสะเก็ดหินและรอยขีดข่วนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างขับขี่..

สำหรับฟิล์มที่จะใช้ในการ Wrap จะมีให้เลือกหลากแบบ หลายสี ทั้งแบบเงา เมทัลลิก แบบด้าน และแบบประกายแสง นอกจากนี้ก็ยังมีแบบกระป๋องสเปรย์ที่เรียกว่า Plasti Dip หรือ Elastic Dip เมื่อฉีดจะกลายเป็นฟิล์มสีเคลือบตัวถัง ที่สามารถลอกออกได้ง่ายโดยที่ไม่ทำลายสีรถอีกด้วย..

ข้อดีของการ Wrap Car สีตัวถัง
-สามารถเปลี่ยนสีรถได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนสีพื้นเดิม
-สามารถคงเส้นสายของตัวถังเดิมไว้ได้
-ตัวฟิล์มทำหน้าที่ในการป้องกันสิ่งสกปรก รอยขนแมว ขี้นก เกสรดอกไม้
-เมื่อเสื่อมสภาพสามารถลอกออกได้โดยที่ไม่ทำลายสีรถแต่อย่างใด


ข้อเสียของการ Wrap Car
-ต้องใช้เวลาไปแจ้งเปลี่ยนสีรถ
-หากใช้ฟิล์มราคาถูก กาวคุณภาพต่ำ อาจสามารถสร้างความเสียหายต่อสีและสารเคลือบตัวถังได้
-ต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูงในการติด
-อาจเกิดฟองอากาศถ้าทำไม่ดี
-ราคาการ Wrap สีตัวถังแพงพอ ๆ กับการทำสีใหม่
-มีอายุการใช้งานสั้น ครั้งละประมาณ 2-3 ปี
-เมื่อถึงอายุการใช้งาน จะต้องกลับเข้าไปเปลี่ยนและทำการหุ้มใหม่ทั้งคันอีกครั้ง

Wrap Car ผิดกฎหมายไหม?
การ Wrap สีรถนั้น ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะ Wrap สีตัวถังทั้งคัน หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่หลังจากที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องไปแจ้งกับกรมขนส่งทางบกภายใน 7 วัน หลังจากที่ไปเปลี่ยนสีรถยนต์

เหตุผลที่ต้องไปแจ้งนายทะเบียนทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนสีตัวถังใหม่ เนื่องจากเป็นการป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ อาทิ การขับรถเฉี่ยวชน การสวมรอยก่ออาชญากรรม การขนยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมาย

หรือแม้แต่ป้องกันรถถูกขโมย แล้วถูกแปรสภาพเป็นสีอื่น หรือแกะ Wrap ออกจนเป็นสีเดิมจนไม่สามารถตามรอยได้

โดยสรุปแล้ว การ Wrap สีรถ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเปลี่ยนสีตัวถังใหม่ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละท่าน แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ Wrap สีรถนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ การหาร้านที่มีมาตรฐาน ช่างที่มีความชำนาญจริง ๆ และเลือกฟิล์มที่มีคุณภาพสูง เพื่อไม่เกิดปัญหาตามมา อีกทั้งควรวางแผนเตรียมเวลาในการดำเนินการแจ้งนายทะเบียนที่กรมขนส่งภายใน 7 วันด้วย.

ที่มา https://www.pohchae.com/2023/12/17/wrap-car/